Courses

เทคโนโลยี
ปีการศึกษา 2568

คำอธิบายรายวิชา 

        ศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีจริยธรรม การสร้างชิ้นงานและ เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่คำนึงถึงจริยธรรม ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมาย หลักการของปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีในอนาคต กรณีศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการของแนวคิดเชิงคำนวณ การแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา การหารูปแบบ
การคิดเชิงนามธรรม ตัวอย่างและประโยชน์ของแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อการออกแบบแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา การออกแบบขั้นตอนวิธี การทำซ้ำ การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล ตัวอย่างการออกแบบขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การศึกษาตัวอย่างโครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำหนดปัญหา ศึกษา วางแผน ดำเนินงาน สรุปผลและเผยแพร่ในการพัฒนาโครงงานที่มีการบูรณาการร่วมกับวิชาอื่นและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง แนวคิดหลักของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น 
          ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการออกแบบขั้นตอนวิธีสำหรับแก้ปัญหา การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสําหรับแก้ปัญหาที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งใช้ความรู้ ทักษะ และเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย คํานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนําเสนอผลงาน

รหัสตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระหว่างทาง
ว 4.1 ม.4/1 วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี
ว 4.1 ม.4/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อ ถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัยสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อน เพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ว 4.1 ม.4/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหา
ว 4.1 ม.4/4 ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไขหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการแก้ปัญหาพร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด

รวม 4 ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดปลายทาง
ว 4.1 ม.4/5 ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย
ว 4.2 ม.4/1 ประยุกต์ใช้แนวคิด เชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน ที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่าง สร้างสรรค์และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
ว 4.2 ม.6/1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย มีจริยธรรม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม

รวม 3 ตัวชี้วัด

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Python ม.4)
ปีการศึกษา 2568

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำหรับรับและแสดงผลข้อมูล ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล ระดับของข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม วงจรการพัฒนาโปรแกรม หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ปัญหา วิธีการประมวลผล การทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา การเขียนผังงาน รูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ คำสั่งรับและแสดงผล ตัวแปร ชนิดข้อมูลและนิพจน์ ตัวดำเนินการ ค่าคงตัว ค่าคงที่และโครงสร้างการควบคุม
          ปฏิบัติการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ลำดับการทำงาน ออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา สามารถลำดับการทำงาน ออกแบบโปรแกรมและมีทักษะเบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม
 
ผลการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์สำหรับรับและแสดงผลข้อมูล รูปแบบของข้อมูลและระดับของข้อมูล การประมวลผลข้อมูลภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรม
2. อธิบายขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือการออกแบบโปรแกรม
3. วิเคราะห์โจทย์ปัญหา ลำดับการทำงาน ออกแบบโปรแกรม
4. สามารถเขียนโปรแกรมที่มีโครงสร้างแบบลำดับ แบบเลือกและทำซ้ำ
 
รวมทั้งหมด 4 ผลการเรียนรู้
การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)
Course rating: 4.0(6)

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร โดยวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสรุปกรอบของปัญหา เปรียบเทียบและเลือกข้อมูลที่จําเป็นโดยคํานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อออกแบบวิธีการแก้ปัญหาในงานอาชีพด้านการเกษตร อาหาร พลังงานและขนส่ง โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย


ตัวชี้วัดระหว่างทาง
ว 4.1 ม.3/1 วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
ว 4.1 ม.3/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานอาชีพ สรุปกรอบของปัญหารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา โดยคํานึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ว 4.1 ม.3/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จําเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นําเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย วางแผนขั้นตอนการทํางานและดําเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
ว 4.1 ม.3/4 ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนําเสนอผลการแก้ปัญหา

รวมทั้งหมด 4 ตัวชี้วัด 

ตัวชี้วัดปลายทาง
ว 4.1 ม.3/5 ใช้ความรู้ และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องกับลักษณะของงาน และปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน


รวมทั้งหมด 1 ตัวชี้วัด 

การออกแบบ 3 มิติ (ม.4)
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)
Course rating: 5.0(1)

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษา วิเคราะห์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ รู้จักโปรแกรม การทำงานเบื้องต้น การสร้างโมเดล ของโปรแกรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์
          ใช้กระบวนการฝึกปฏิบัติ  สร้างโมเดลชิ้นงานและตกแต่งชิ้นงานของตนเองโดยใช้โปรแกรม นำหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ มาพัฒนาผลงานตามความสนใจและความถนัดอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมมีหลักการใช้โปรแกรมในการนำเสนอผลงานด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม จนสามารถสร้างชิ้นงานจากจินตนาการ
เห็นคุณค่าของการใฝ่เรียนรู้  มีความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์  มุ่งมั่นในการทำงาน   มีจริยธรรมคอมพิวเตอร์ในการใช้คอมพิวเตอร์ ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ

ผลการเรียนรู้
1.    บอกความหมายและหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้
2.    อธิบายส่วนประกอบ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้
3.    ปฏิบัติการใช้โปรแกรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผลงานได้ด้วยตนเอง
4.    ออกแบบและสร้างชิ้นงานโมเดลตามจินตนาการตนเองได้อย่างสร้างสรรค์
5.    นำเสนอผลงานในรูปแบบที่เหมาะสม

รวม 5 ผลการเรียนรู้

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ม.4)
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)
Course rating: 5.0(2)

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำหรับรับและแสดงผลข้อมูล ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล ระดับของข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม วงจรการพัฒนาโปรแกรม หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ปัญหา วิธีการประมวลผล การทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา การเขียนผังงาน รูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ คำสั่งรับและแสดงผล ตัวแปร ชนิดข้อมูลและนิพจน์ ตัวดำเนินการ ค่าคงตัว ค่าคงที่และโครงสร้างการควบคุม
          ปฏิบัติการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ลำดับการทำงาน ออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา สามารถลำดับการทำงาน ออกแบบโปรแกรมและมีทักษะเบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม
 
ผลการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์สำหรับรับและแสดงผลข้อมูล รูปแบบของข้อมูลและระดับของข้อมูล การประมวลผลข้อมูลภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรม
2. อธิบายขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือการออกแบบโปรแกรม
3. วิเคราะห์โจทย์ปัญหา ลำดับการทำงาน ออกแบบโปรแกรม
4. สามารถเขียนโปรแกรมที่มีโครงสร้างแบบลำดับ แบบเลือกและทำซ้ำ
 
รวมทั้งหมด 4 ผลการเรียนรู้
ค32101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)

เลขยกกำลัง  เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่ n ของจำนวนจริง เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน  ดอกเบี้ย มูลค่าของเงิน ค่ารายงวด 

ฟังก์ชัน  ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน (ฟังก์ชันเชิงเส้น  ฟังก์ชันกำลังสอง ฟังก์ชันขั้นบันได ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.5
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                 รายวิชาเพิ่มเติม

ชื่อรายวิชา  คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม รหัสวิชา  ค32211              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ภาคเรียนที่ 2             จำนวนหน่วยกิต  2.0  หน่วยกิต         เวลา  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

............................................................................................................................................................

ศึกษา  ฝึกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ในสาระต่อไปนี้

เวกเตอร์ในสามมิติ  เวกเตอร์ นิเสธของเวกเตอร์   การบวก การลบเวกเตอร์ การคูณเวกเตอร์ด้วย

สเกลาร์  ผลคูณเชิงสเกลาร์ ผลคูณเชิงเวกเตอร์ 

จำนวนเชิงซ้อน  จำนวนเชิงซ้อนและสมบัติของจำนวนเชิงซ้อน  จำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้ว

รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อ n เป็นจำนวนนับที่มากกว่า 1  สมการพหุนามตัวแปรเดียว  

โดยใช้วิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหา  ใช้ความรู้  ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ  ได้อย่างเหมาะสม  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ  ทางคณิตศาสตร์  และนำความรู้หลักการ  กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ  พร้อมทั้งบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์  รวมทั้งมีความซื่อสัตย์  สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  มีจิตสาธารณะ วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง  ด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย  ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

ผลการเรียนรู้

1. หาผลลัพธ์ของการบวก การลบเวกเตอร์ การคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์  หาผลคูณเชิงสเกลาร์

และผลคูณเชิงเวกเตอร์

2. นำความรู้เกี่ยวกับเวกเตอร์ในสามมิติไปใช้ในการแก้ปัญหา

3. เข้าใจจำนวนเชิงซ้อนและใช้สมบัติของจำนวนเชิงซ้อนในการแก้ปัญหา

4. หารากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อ n เป็นจำนวนนับที่มากกว่า 1

5. แก้สมการพหุนามตัวแปรเดียว  ดีกรีไม่เกินสี่  ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็มและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

 

รวมทั้งหมด  5  ผลการเรียนรู้  

วิชาภาษาไทย ม. ๓
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  มุ่งพัฒนาผู้เรียน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อให้เกิดทักษะอย่างถูกต้องเหมาะสมในการสื่อสาร จำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ 
คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดตัดสินใจแก้ปัญหาและวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล    ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ  การฟังเป็นทักษะของการรับรู้เรื่องราว ความรู้และประสบการณ์ ส่วนการพูดและการเขียนเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ในการเรียนภาษาไทย เพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์  สามารถเลือกใช้คำ เรียบเรียงความคิด  ความรู้  และใช้ภาษาได้ถูกหลักเกณฑ์ ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้องตามกาลเทศะ บุคคลและมีประสิทธิภาพ กฎเกณฑ์ทางภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนวรรณคดี วรรณกรรม ภูมิปัญญาทางภาษาในบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรองประเภทต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการอ่าน เขียน ฟัง  พูดภาษาไทยได้ถูกต้อง ตามหลักการ มีนิสัยรักการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เขียนเพื่อการสื่อสาร  แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ตามจินตนาการอย่างมีเหตุผล พูดแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น อย่างชัดเจน มีเหตุผลและมารยาทในการพูด ฟังอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนเข้าใจ ความหมายของคำ สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต ใช้คำราชาศัพท์คำสุภาพได้อย่างเหมาะสม แต่งประโยค แต่งบทร้อยกรอง กลอนสี่สุภาพ และกาพย์ยานี  11  เข้าใจเห็นคุณค่าวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน ร้องเพลงพื้นบ้าน  ของท้องถิ่น นำข้อคิดจากเรื่องไประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและท่องบทอาขยานตามที่กำหนดได้

คณิตศาสตร์ ม.5
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)

ลำดับและอนุกรม  ลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิต  อนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิต

ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน  ดอกเบี้ย มูลค่าของเงิน ค่ารายงวด

เทคโนโลยี (ม.4)
ปีการศึกษา 2567 (ขอเปิดรายวิชาใหม่ที่นี่)
Course rating: 5.0(1)

คำอธิบายรายวิชา 

        ศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีจริยธรรม การสร้างชิ้นงานและ เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่คำนึงถึงจริยธรรม ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมาย หลักการของปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีในอนาคต กรณีศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการของแนวคิดเชิงคำนวณ การแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา การหารูปแบบ
การคิดเชิงนามธรรม ตัวอย่างและประโยชน์ของแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อการออกแบบแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา การออกแบบขั้นตอนวิธี การทำซ้ำ การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล ตัวอย่างการออกแบบขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การศึกษาตัวอย่างโครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำหนดปัญหา ศึกษา วางแผน ดำเนินงาน สรุปผลและเผยแพร่ในการพัฒนาโครงงานที่มีการบูรณาการร่วมกับวิชาอื่นและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง แนวคิดหลักของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น 
          ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการออกแบบขั้นตอนวิธีสำหรับแก้ปัญหา การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสําหรับแก้ปัญหาที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งใช้ความรู้ ทักษะ และเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย คํานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนําเสนอผลงาน

รหัสตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระหว่างทาง
ว 4.1 ม.4/1 วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี
ว 4.1 ม.4/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อ ถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัยสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อน เพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ว 4.1 ม.4/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหา
ว 4.1 ม.4/4 ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไขหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการแก้ปัญหาพร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด

รวม 4 ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดปลายทาง
ว 4.1 ม.4/5 ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย
ว 4.2 ม.4/1 ประยุกต์ใช้แนวคิด เชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน ที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่าง สร้างสรรค์และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
ว 4.2 ม.6/1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย มีจริยธรรม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม

รวม 3 ตัวชี้วัด